ระบบบริการขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การดำเนินการในส่วนเกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในเขตเทศบาล เช่น ถนน ทางเท้า ทางระบายน้ำ การประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ เป็นต้น
การคมนาคม เส้นทางคมนาคมที่สำคัญในเขตเทศบาล ประกอบด้วยทางหลวงสายต่างๆ และถนนเทศบาลฯ เชื่อมต่อชุมชนภายในเขตเทศบาลดังต่อไปนี้
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑ ผ่านชุมชนในแนวเหนือ-ใต้ สามารถติดต่อกับจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา และระยอง
- ทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๓๓๔๑ จากชุมชนบ้านสามแยกไปยังอำเภอเกาะจันทร์
- ทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๓๒๔๖ จากเกาะโพธิ์ไปยังอำเภอพนัสนิคม
- ถนนเทศบาลฯ เชื่อมต่อชุมชนในเขตเทศบาล มีจำนวน ๑๐๔ สาย แบ่งเป็น ถนนลูกรัง ๑๕ สาย , ถนนลาดยาง ๕๐ สาย , ถนนคอนกรีต ๓๙ สาย
การไฟฟ้า
- ในเขตเทศบาลตำบลท่าบุญมี ประชาชนมีไฟฟ้าใช้คิดเป็น ๑๐๐% ของจำนวนหลังคาเรือน
- ไฟฟ้าสาธารณะ ครอบคลุมถนน ๑๐๔ สาย
การประปา
ปัจจุบันการประปาของเทศบาล ได้โอนกิจการไปสังกัดการประปาส่วนภูมิภาคตั้งแต่ วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๓ เนื่องจากขาดแหล่งน้ำเพื่อการผลิตดำเนินการ และเป็นการลดภารกิจของเทศบาล
โทรศัพท์
ในเขตเทศบาลตำบลท่าบุญมี ประชาชนมีโทรศัพท์พื้นฐานใช้และมีตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๑๖ ตู้
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ภูมิอากาศ
ลักษณะอากาศทั่วไปเป็นสภาพอากาศแบบมรสุมเขตร้อนมีอุณหภูมิ ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ มีผลทำให้ฝนตกชุกในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม และได้รับมรสุมจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นช่วงฤดูที่มีอากาศหนาวหรือแห้งแล้งในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ และจากสภาพภูมิอากาศโดยรวม สามารถแบ่งได้ ๓ ฤดู
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน–กุมภาพันธ์ อยู่ในอิทธิพลชองลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศแห้งแล้งและหนาวเย็น
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม–พฤษภาคม เป็นฤดูเปลี่ยนลมมรสุมครั้งแรก และมีอากาศร้อนจัดในเดือนเมษายน
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน–ตุลาคม อยู่ในช่วงอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีฝนตกหนักในเดือนตุลาคม
แหล่งน้ำ
ในเขตเทศบาลตำบลท่าบุญมี ไม่มีแหล่งน้ำที่สำคัญตามธรรมชาติ เพื่อการเกษตรและการบริโภค มีเพียงคลองหลวง ซึ่งไหลผ่านพื้นที่นอกเขตเทศบาลทางด้านทิศเหนือ
การระบายน้ำ
- พื้นที่น้ำท่วมถึง คิดเป็น ร้อยละ ๕ ของ พื้นที่ทั้งหมด
- ระยะเวลาเฉลี่ยที่น้ำท่วมให้นานที่สุด ๓-๕ วัน ประมาณ ในระหว่างเดือน กันยายน
เศรษฐกิจ
สภาพเศรษฐกิจภายในเขตเทศบาลตำบลท่าบุญมี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ รับจ้างและค้าขาย มีรายได้เฉลี่ยของประชากร ๖๓,๘๒๒ บาท/คน/ปี สูงกว่าเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำ ๓๐,๐๐๐ บาท/คน/ปี (ข้อมูลจาก จปฐ. ณ พฤษภาคม ๕๗) ในด้านเกษตรกรรม ได้แก่ การปลูกข้าว ปลูกเห็ด ปลูกพืชหมุนเวียน ด้านการเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา และด้านพาณิชยกรรม ซึ่งแยกดังนี้
- สถานประกอบการด้านพณิชยกรรม
- สถานีบริการน้ำมัน ๒ แห่ง – ตลาดสด ๑ แห่ง
- ร้านค้าทั่วไป จำนวน ๕๔๐ แห่ง
- สถานประกอบการด้านบริการ
- ธนาคารพาณิชย์ ๕ แห่ง ได้แก่
- ธนาคารกสิกรไทย
- ธนาคารการเกษตรและสหกรณ์
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารออมสิน
- โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน ๖ แห่ง ได้แก่
- บริษัท สยาม เซ็นทรัล อุตสาหกรรม เครื่องเรือน จำกัด
- บริษัท เซิ่งไท่ บราซแวร์ (ประเทศไทย) จำกัด
- โรงงานผลิตน้ำหวาน
- โรงงาน ทำวงกบ ประตู หน้าต่าง จากไม้แปรรูป
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุดม สุริยะ แอนด์ พาเลท
- บริษัท บารมี แพ็ค จำกัด
- ธนาคารพาณิชย์ ๕ แห่ง ได้แก่
สังคม
ชุมชน
ในเขตเทศบาลตำบลท่าบุญมี ประกอบไป ชุมชนย่อยต่าง ๆ จำนวน ๘ ชุมชน ดังนี้
- ชุมชนย่อยที่ ๑ บ้านหนองอีดำ
- ชุมชนย่อยที่ ๒ บ้านถ้วยงาม
- ชุมชนย่อยที่ ๓ บ้านหนองคล้า
- ชุมชนย่อยที่ ๔ บ้านกระบกคู่
- ชุมชนย่อยที่ ๕ บ้านสามแยก
- ชุมชนย่อยที่ ๖ บ้านอิสลาม
- ชุมชนย่อยที่ ๗ ตลาดฝั่งเหนือ
- ชุมชนย่อยที่ ๘ ตลาดฝั่งใต้
ประชากร
ประชากรในเขตตามข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ของปี พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๗ มีรายละเอียดปรากฏตามตารางดังนี้
รายการ | ปี พ.ศ.๒๕๕๕ | ปี พ.ศ.๒๕๕๖ | ปี พ.ศ.๒๕๕๗ |
---|---|---|---|
ประชากรชาย (คน) | ๓,๒๔๕ | ๓,๒๔๕ | ๓,๒๓๔ |
ประชากรหญิง (คน) | ๓,๓๔๘ | ๓,๒๐๑ | ๓,๓๗๘ |
รวมประชากร (คน) | ๖,๕๙๓ | ๖,๔๔๖ | ๖,๖๑๒ |
บ้าน (หลังคาเรือน) | ๓,๕๕๕ | ๓,๖๑๒ | ๓,๗๒๔ |
ศาสนา
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมานับถือศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ ในเขตเทศบาลมีวัดทั้งหมดจำนวน ๓ แห่ง ได้แก่ วัดเกาะโพธาวาส , วัดกระบกคู่ , วัดป่าเลิศรัตนาราม และมัสยิด ๑ แห่ง ได้แก่ มัสยิดดารุ้ลยันนะห์
วัฒนธรรม
ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นของชุมชนในเขตเทศบาล ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พอสรุปได้ดังนี้
- งานประเพณีสงกรานต์ จัดในเดือน เมษายน ของทุกปี กิจกรรมโดยสังเขป ก่อพระเจดีย์ทราย สรงน้ำพระ การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และการแสดงดนตรี
- งานประเพณีเข้าพรรษา จัดในเดือน กรกฎาคม ของทุกปีกิจกรรมโดยสังเขป จัดขบวนแห่ เทียนพรรษาไปตามวัดต่าง ๆ ในพื้นที่เทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียง
- งานประเพณีลอยกระทง จัดในเดือน พฤศจิกายน ของทุกปี มีกิจกรรมโดยสังเขป ประกวดหนูน้อยนพมาศหรือนางนพมาศ และการประกวดกระทงประเภทต่าง ๆ
- งานประเพณีส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ จัดในวันที่ ๓๑ ธันวาคม – ๑ มกราคม ของทุกปี กิจกรรมโดยสังเขป จัดงานทำบุญตักบาตร ร่วมกันระหว่างเทศบาลและประชาชนทั่วไปในช่วงกลางคืนมีการแสดงของภาคประชาชนเพื่อต้อนรับปีใหม่
- งานทำบุญกลางตลาดประจำปี บริเวณตลาดเกาะโพธิ์ และตลาดสามแยก จัดกิจกรรมในช่วงระหว่างเดือน มีนาคม – พฤษภาคม ช่วงเช้ามีพิธีทำบุญตักบาตรถวายเครื่อง ไทยธรรม และการดนตรีไทย
การศึกษา
ในเขตเทศบาลตำบลท่าบุญมี มีสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต ๒ จำนวน ๓ แห่ง และมีสถานศึกษาของเอกชน จำนวน ๔ แห่ง ได้แก่
- โรงเรียนบ้านสามแยก
- โรงเรียนบ้านเกาะโพธิ์ (วันครู ๒๕๐๐)
- โรงเรียนเกาะโพธิ์ถ้วยงามวิทยา
- โรงเรียนนันทนวิทย์
กีฬา นันทนาการ / พักผ่อน
เทศบาลตำบลท่าบุญมี ได้มีนโยบายจัดกิจกรรมกีฬา นันทนาการ เพื่อสร้างสายสัมพันธ์อันดี เพื่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ องค์กร รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปลูกฝังและส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน ประชาชน ในท้องถิ่นได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ พร้อมใส่ใจต่อสุขภาพพลานามัยอยู่เสมอ รวมถึงเพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายเพื่อปิดเส้นทางการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดของเด็ก เยาวชน และประชาชน ให้หันมาสนใจการเล่นกีฬา จึงได้จัดโครงการ / กิจกรรม ดังต่อไปนี้ เป็นประจำทุกปี อย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการแข่งขันกีฬาฟุตบอลชุมชนสัมพันธ์ โครงการเดิน – วิ่ง ต้านภัยยาเสพติด โครงการแข่งขันกีฬากับหน่วยงานภายนอก โครงการแข่งขันกีฬาเปตอง โครงการแข่งขันแบคบินตั้น ฯลฯ
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว เทศบาลยังมีสถานที่ให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย ดังนี้
โครงสร้างและอัตรากำลังของเทศบาลตำบลท่าบุญมี ประกอบด้วย
- ก. ฝ่ายสภา สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิก ๑๒ คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๔ ปี มีหน้าที่ในการตรวจสอบ ให้คำแนะนำหรือให้คำปรึกษาในการบริหารงานของคณะผู้บริหาร และพิจารณาการออกเทศบัญญัติ
- ข. ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย นายกเทศมนตรีหนึ่งคนที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และมีรองนายกเทศมนตรีซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเทศบาลตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมายอีกสองคน และในการบริหารงานนายกเทศมนตรีได้แต่งตั้งให้มีที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี โดยมีผู้บริหารของเทศบาลมีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบการบริหารงานของเทศบาลตามกฎหมาย และมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
- ฝ่ายพนักงาน ประกอบด้วย พนักงานเทศบาล ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้างตามภารกิจและพนักงานจ้างทั่วไป โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในงานประจำทั่วไปของเทศบาล มีหัวหน้าส่วนการงานทั้ง ๕ ส่วนเป็นผู้ช่วย ได้แก่ สำนักปลัดเทศบาล กองคลัง กองช่าง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และกองการศึกษา ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติม ถึง(ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ.๒๕๕๒ มาตรา ๕๐ ดังนี้
- รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
- ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
- รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
- ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
- ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
- ให้มีเครื่องมือเครื่องใช้ในการดับเพลิง
- ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
- บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดี ของท้องถิ่น
- หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๖ กำหนดไว้คือ
- การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
- การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
- การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
- การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
- การสาธารณูปการ
- การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
- การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
- การส่งเสริมการท่องเที่ยว
- การจัดการศึกษา
- การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
- การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของ ท้องถิ่น
- การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
- การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
- การส่งเสริมกีฬา
- การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
- การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
- การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
- การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
- การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
- การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
- การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
- การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพและสาธารณสถานอื่นๆ
- การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การผังเมือง
- การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
- การดูแลรักษาที่สาธารณะ
- การควบคุมอาคาร
- การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการ
ประกาศกำหนด
๒.๖.๑ อัตรากำลังของเทศบาลตำบลท่าบุญมี ในเดือนกันยายน ๒๕๖๐ มีจำนวนทั้งหมด ๖๖ คน โดยแบ่งเป็น
- พนักงานเทศบาล จำนวน ๑๗ คน
- ลูกจ้างประจำ จำนวน ๗ คน
- พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน ๒๐ คน
- พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน ๒๒ คน
รายการ | ปี พ.ศ.๒๕๕๔ | ปี พ.ศ.๒๕๕๕ | ปี พ.ศ.๒๕๕๖ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
รายรับ | ๔๕,๖๑๙,๕๑๓.๖๙ | ๔๙,๔๒๖,๒๕๓.๐๓ | ๕๗,๒๙๔,๑๒๙.๕๑ | รวมเงินอุดหนุนทุกประเภท |
รายจ่าย | ๓๕,๗๒๔,๘๓๔.๗๓ | ๔๓,๑๓๓,๑๖๙.๔๕ | ๕๐,๓๑๖,๓๕๒.๒๓ | รวมเงินอุดหนุนทุกประเภท |